KJDOO.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาการใช้งานของคุณ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ฟิล์มกันรอย ยี่ห้อไหนดี

ฟิล์มกันรอยเป็นอีกหนึ่งในอุปกรณ์เสริม ที่ช่วยดูแล รักษาหน้าจอของสมาร์ทโฟนของคุณไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนต่าง ๆ  โดยเฉพาะผู้ที่ซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ แทบทุกคนเลือกที่จะติดฟิล์มกันรอยก่อนเป็นอันดับแรก ๆ

ฟิล์มกันรอย

เมื่อได้เครื่องใหม่มา การติดฟิล์มกันรอยถือเป็นวิธีการดูแลรักษาโทรศัพท์อย่างง่าย ๆ เพื่อให้ใช้งานได้นาน ปัจจุบันฟิล์มก็มีอยู่หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นฟิล์มกันรอยพลาสติกเนื้อบาง ฟิล์มกระจกซึ่งจะเป็นฟิล์มกันรอยนิรภัย

ที่มีความแข็งแรงทนทานต่อการกระแทกได้เป็นอย่างดี จนทำให้หลาย ๆ ท่านตัดสินใจเลือกไม่ถูกว่าจะติดแบบไหนดี

ฟิล์มกันรอยแบบต่าง ๆ

สารบัญ

1.ฟิล์มแบบใส (Clear Screen Protector)

เป็นฟิล์มกันรอยชนิดใส ป้องกันรอยขีดข่วนบนหน้าจอด้วยการเคลือบฟิล์มแข็งบาง (Hard Coating) เนื้อฟิล์มติดง่าย เรียบสนิทไปกับหน้าจอ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดรอยบนแผ่นฟิล์ม  แผ่นฟิล์มมีความใสและบางเป็นพิเศษและยึดติดหน้าจอ

ด้วยระบบสุญญากาศทำให้ไม่มีคราบกาวเมื่อลอกออก เป็นฟิล์มกันรอยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจาก ราคาถูกที่สุด และสีขาวใสยังช่วยกรองรังสี UV จากหน้าจอ

จึงช่วยถนอมและป้องกันสายตาอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ฟิล์มกันรอบแบบใสนี้ เราต้องหมั่นเช็ดบ่อย ๆ เพราะจะเกิดคราบจากรอยนิ้วมือ คราบมันได้ง่าย

2.ฟิล์มกันรอยแบบขุ่นหรือฟิล์มด้าน

เป็นอีกหนึ่งฟิล์มกันรอยที่ได้รับความนิยมเช่นกัน มีจุดเด่นคือช่วยลดแสงสะท้อนจากรอบข้าง  ทำให้สามารถมองเห็นและใช้งานหน้าจอได้ตามปกติ ลดการสะท้อนแสงสว่างที่มาตกกระทบหน้าจอได้ดี และยังช่วยให้ภาพในหน้าจอดูนุ่มนวลสบายตามากขึ้น

3.ฟิล์มกันรอย ชนิดป้องกันคนแอบมอง (Privacy Filter) หรือฟิล์มกันเผือก

เป็นแผ่นฟิล์มสีดำโปร่งใส สำหรับต้องการความเป็นส่วนตัว หรือมีความลับเยอะ ไม่ชอบให้คนรอบข้างแอบดูหน้าจอมือถือ โดยฟิล์มชนิดนี้จะทำให้หน้าจอมือถือสามารถมองเห็นจากมุมตรงได้เท่านั้น ช่วยปกป้องหน้าจอจากสายตาคนรอบข้าง

เพราะข้อมูลบางอย่างสำคัญหรือเป็นความลับ ทำให้ใช้งานในที่สาธารณะได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ยังสามารถใช้ได้กับ แล็ปท็อป โน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ต และอุปกรณ์พกพาอื่น ๆ เมื่อติดฟิล์มแล้วจะมองเห็นภาพบนหน้าจอได้เฉพาะผู้ที่อยู่ด้านหน้าของจอเท่านั้น

4.ฟิล์มกระจก (Mirror Film)

เป็นเนื้อฟิล์มชนิดหนึ่งที่มีสารเคลือบพิเศษทำให้เห็นเงาบนแผ่นฟิล์มได้ อย่างชัดเจนเหมือนกระจกเงา เมื่อหน้าจออยู่ในโหมด Stand by แต่ในโหมดการใช้งานจะใช้หน้าจอสัมผัสได้ตามปกติ ทนทานต่อการขูดขีด ช่วยป้องกันหน้าจอแตกจากแรงกระแทก 

ป้องกันรอยขีดข่วนเป็นรอยบนแผ่นฟิล์ม ทำให้หน้าจอสวยงามและคมชัดดังเดิม ทั้งยังกรองรังสี UV จากหน้าจอ ช่วยถนอมและป้องกันสายตาจากรังสี UV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีเลือกซื้อฟิล์มกันรอย

1.เลือกชนิดฟิล์มกันรอยให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ถ้าเราเลือกแบบ “ใส” จะช่วยให้ภาพหน้าจอคมชัด ช่วยตอบสนองการสัมผัสได้ดี  แต่ถ้าเลือกแบบ “ด้าน” จะช่วยป้องกันแสงสะท้อนได้ดี ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลว่าชอบแบบไหน

2.ควรเลือกใช้ฟิล์มกันรอยแบบเต็มจอ เพราะจะปกป้องได้ดียิ่งกว่า

3.ความหนาของฟิล์มกันรอย

ถ้าเลือกแบบฟิล์มกระจก ควรมีความหนาไม่เกิน 0.3 มิลลิเมตร เพราะความหนาจะส่งผลต่อการสัมผัส ถ้าฟิล์มหนาเกินไปจะทำให้สัมผัสติดขัด ไม่ลื่นไหล

4.และสำหรับใครที่ต้องจ้องหน้าจอนาน ๆ แนะนำฟิล์มแบบช่วยตัดแสงสีฟ้าช่วยถนอมสายตา

10 ฟิล์มกันรอย ยี่ห้อไหนดี

1.ฟิล์มกระจกเต็มจอ iPhone 6 / 6s / 6+ / 6s+ / 7 / 8 / 7+ / 8+

ฟิล์มกระจกกันแตก สำหรับ  iPhone 6 / 6s / 6+ / 6s+ / 7 / 8 / 7+ / 8+  เป็นฟิล์มกระจกเต็มจอ คงทน แข็งแรง กันรอยขีดข่วนได้ดี ผลิตจากกระจกคุณภาพสูง ความแข็งระดับ 9H

ป้องกันรอยขีดข่วนและการแตกของหน้าจอโทรศัพท์ เคลือบสารลดคราบนิ้วมือ ทำความสะอาดได้ง่าย ลื่น ติดง่าย ไม่เป็นฟองอากาศหมดปัญหาทัชสกรีนเพี้ยน ให้ภาพคมชัดสมบูรณ์แบบ สีสันสดใส ไม่หลอกตา ตอบสนองทุกความต้องการ

ข้อดี
ข้อด้อย

2.ฟิล์มกันรอย ฟิล์มกระจก Diamond Shield รุ่น 6D

ใช้สำหรับ iPhone 6, iPhone 6 plus ,iphone 7 ,iphone 7 plus iphone 8 plus, iPhone X ,iPhone xs MAX ปกป้องหน้าจอมือถือของคุณอย่างมั่นใจ มีดีไซน์ที่สวยงาม ปกป้องเต็มหน้าจอได้อย่างมั่นใจ ด้วยการครอบคลุมที่เต็มจอของกระจกนิรภัย

อ่านบทความเกี่ยวข้อง  เครื่องทำแซนวิช ยี่ห้อไหนดี ทำกินเองได้สะดวก เติมพลังมื้อเช้าได้ง่าย ๆ 

แบบเต็มจอ  ขอบโค้งมนไม่บาดมือ เคลือบสารลดคราบรอยนิ้วมือ ไล่อากาศง่าย ไม่เป็นฟองอากาศ ติดแล้วไม่ทิ้งคราบกาว ช่วยป้องกันการแตกร้าวของหน้าจอของคุณในเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด กระจกนิรภัยไดมอนต์ชิลด์ผ่านการเคลือบด้วยเทคโนโลยีพิเศษ

ลดรอยนิ้วมือ คงความสดใสของหน้าจอ และมีดีไซน์ที่สวยงาม ปกป้องเต็มหน้าจอได้อย่างมั่นใจ อายุการใช้งานยาวนาน ภาพคมชัด สีสันสดใส และยังคงความสามารถในการทัชสกรีน

ข้อดี
ข้อด้อย

3.ฟิล์มกันรอย กระจกนิรภัย for Xiaomi Redmi Note 5

ฟิล์มกันรอย กระจกนิรภัย for Xiaomi Redmi Note 5 มีความแข็งแรงของกระจกระดับ 9H สามารถคัตเตอร์กรีดหน้าฟิล์ม ไม่สามารถทำรอยได้ เป็นฟิล์มที่มีความแข็งแรงทนแรงขีดข่วนมากกว่าปกติ

ช่วยป้องกันหน้าจอจากรอยขีดข่วนจากของแข็งและการตกกระแทก หน้าจอเต็มจอ กาวเต็มแผ่น  ปลายขอบโค้งมน 2.5D แนบสนิทกับจอ แนบสนิทพอดีกับจอ 

จะช่วยปกป้องหน้าจอมือถือที่คุณรักจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเนื้อกระจกมีการเคลือบสาร anti-finger การใช้งานทัชสกรีนลื่นไหลและลดรอยนิ้วมือจากการสัมผัส และทำให้สัมผัสลื่นขึ้น

ข้อดี
ข้อด้อย

4.ฟิล์มกันรอย ฟิล์มกระจกนิรภัยกันเสือก iPhone X

ฟิล์มกระจกนิรภัยกันเสือก iPhone X หรือกันแอบมองข้าง โดยสีของฟิล์มจะออกเป็นสีดำใส จะมองเห็นเฉพาะมุมตรงเท่านั้น คุณสมบัติพิเศษ ก็ตามชื่อ คือกันแอบมองภาพในจอจากด้านข้าง โดยจะมองไม่เห็น แบบสนิทจากการมองมาจากมุม

ที่มากกว่า 60 องศาขึ้นไป โดยไม่มีผลกับการทัชสกรีนหน้าจอของเราแต่อย่างไร และยังให้ผลในการป้องกันจอจากกันตกกระแทก และรอยขีดข่วนได้อีก

ข้อดี
ข้อด้อย

5.ฟิล์มกันรอย TPU ป้องกันเต็มจอ

ฟิล์มกันรอยแบบอ่อน สามารถคลุมขอบโค้งได้เต็มหน้าจอ ซัมซุง Samsung Galaxy S10 / S10 PLUS / S9 / S9 PLUS / S8 PLUS / Note 9 / Note 8 ได้ 100% ไม่มีดีดขึ้นมา เนื้อฟิล์มกันรอยผลิตด้วยกระบวนการผลิตสมัยใหม่ คุณภาพสูง

ทำให้เป็นฟิล์มกันรอยแบบอ่อนคล้ายยาง ป้องกันรอยได้อย่างดี มีค่าความแข็งถึง 4H ใสมากและบางเพียง 0.1-0.2 มม.ติดและลอกออกโดยไม่มีคราบกาว ด้วยระบบสุญญากาศ จาก Silicon คุณภาพสูง-คุณภาพดี

ฟิล์ม TPU สามารถรองรับการกระแทกได้ดี ป้องกันแตกได้    ตัวฟิล์มนิ่ม จอสว่าง สดใส ตัวฟิล์มสามารถลอกออกและติดซ้ำได้เลย หน้าจอลื่นกว่าติดตั้งง่าย ไม่เกิดฟองอากาศ

ข้อดี
ข้อด้อย

6.ฟิล์มกันรอย Huawei P20 Pro ฟิล์มกระจกนิรภัยเต็มจอ

ฟิล์มกระจกนิรภัยเต็มจอ  เป็นฟิล์มที่มีความแข็งระดับ H9 จะช่วยปกป้องหน้าจอมือถือที่คุณรักจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ฟิล์มกระจกนิรภัย เป็นฟิล์มที่มีความแข็งแรงทนแรงขีดข่วนมากกว่าปกติ ช่วยป้องกันหน้าจอจากรอยขีดข่วนจากของแข็งและการตกกระแทก

ด้วยเทคโนโลยีของฟิล์มกระจกนิรภัยจะช่วยให้หน้าจอสีสันสดใสคงเดิม การใช้งานทัชสกรีนลื่นไหลและลดรอยนิ้วมือจากการสัมผัส โดยฟิล์มมีความบางเพียง 0.3 มม. มีความแข็งแรงของกระจกระดับ 9H

สามารถทนต่อแรกกระแทกได้เป็นอย่างดี มีความแข็งแรงกว่าฟิล์มปกติทั่วไปประมาณ 3 เท่า มีความใสไม่ทำให้หน้าจอลดความคมชัด เนื้อกระจกมีการเคลือบสาร anti-finger ช่วยลดรอยนิ้วมือ และทำให้สัมผัสลื่นขึ้น

ข้อดี
ข้อด้อย

7.ฟิล์มกันรอยแบบด้าน Focus ฟิล์มกันรอยแบบด้าน OPPO Find 7a

ฟิล์มเป็นแบบไม่เต็มจอสำหรับหน้าจอมุมโค้ง และลงโค้ง ฟิล์มชนิดด้าน ที่เน้นคุณสมบัติลดรอยนิ้วมือเป็นพิเศษ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของโทรศัพท์แบบทัชสกรีนที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ และหน้าจอยังมีขนาดใหญ่

ผู้ใช้งานจึงมักเจอปัญหารอยนิ้วมือทำให้รำคาญสายตา เมื่อติดฟิล์มของโฟกัส แล้วปัญหานี้ก็จะหมดไป ช่วยให้ใช้งานโทรศัพท์ได้อย่างราบรื่น

ข้อดี
ข้อด้อย

8.ฟิล์มกันรอย ฟิล์มกระจกนิรภัย NILLKIN Xiaomi Mi Mix 2 / Xiaomi Mi Mix 2S

ฟิล์มกระจกนิรภัยแบบเต็มจอ กระจกบางระดับนาโน ป้องกันจอแตกจากการกระแทก Anti-Explosion Tempered Glass  เนื้อกระจกบาง 0.33 mm ให้ความลื่นจากการสัมผัสเหมือนเดิมราวกับไม่ได้ติดกระจกไว้ขอบกระจกโค้งมน

อ่านบทความเกี่ยวข้อง  กระทะไฟฟ้าอเนกประสงค์ ยี่ห้อไหนดี

เรียบเต็มจอให้การสัมผัสที่นุ่มมากขึ้น แบบ 2.5 มิติในทุกองศาการมอง รองรับการกระแทกด้วยมาตรฐานระดับโลก 9H  เคลือบสารป้องกันรอยนิ้วมือ หน้าจอภาพคมชัดตลอดเวลา มาตรฐาน Nillkin CP+ (Complete Covering) ใหม่ล่าสุด

ข้อดี
ข้อด้อย

9.ฟิล์มกระจกนิรภัย เกรดพรีเมียมแบบใส สำหรับHuawei Y6

ฟิล์มกระจกนิรภัยแบบใส ปกป้องหน้าจอมือถือของคุณอย่างมั่นใจด้วยกระจกกันรอยพรีเมียม ช่วยลดความเสี่ยงจากการแตกร้าวของ หน้าจอของคุณในเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด กระจกกันรอยพรีเมียม

ผ่านการเคลือบด้วยเทคโนโลยีพิเศษ ทำให้สัมผัสหน้าจอได้ลื่นไหล ลดรอยนิ้วมือ คงความคมชัดและสดใสของหน้าจอ พร้อมดีไซน์สวยงามด้วยขอบที่โค้งมน ไม่มีกาว ทำให้ไม่มีคราบกาวติดอยู่บนเครื่อง ลอกออกง่าย ทนทาน

ข้อดี
ข้อด้อย

10.ฟิล์มกันรอย เต็มจอ อ้อมหลัง Focus

ฟิล์มกันรอยใสที่ออกแบบมาสำหรับสมาร์ทโฟนจอโค้งโดยเฉพาะ  ใช้ได้กับสมาร์ทโฟนรุ่น Samsung galaxy S9 / S9 Plus / S10 / S10 Plus / Note 8 / Note 9 / Note 10 / Note 10 Plus

ด้วยเนื้อฟิล์มที่ยืดหยุ่นเป็นพิเศษ ขยายพื้นที่การติดบริเวณขอบด้านหลัง ทำให้สามารถติดบนหน้าจอที่มีความโค้งได้ดี และสามารถใส่กับเคสได้ทุกชนิด ขอบฟิล์มไม่หลุดง่าย

ข้อดี
ข้อด้อย

บทสรุป

การเลือกฟิล์มกันรอยให้ถูกใจและใช้งานได้ตรงตามความต้องการของเรานั้น ไม่ยากอย่างที่คิดเลย ดังนั้นหากรู้แล้วว่าตัวเองต้องการคุณสมบัติ/ฟังก์ชันของฟิล์มแบบไหน ก็ให้เลือกตามแบบที่เราชอบได้เลย

เพราะว่าสมาร์ทโฟนถือว่าเป็นของใช้ส่วนตัวก็ว่าได้ เราไม่ได้ใช้ร่วมกับใคร เลือกในแบบที่เราชอบที่เหมาะกับตัวเองเราและปกป้องหน้าจอสมาร์ทโฟนของเราให้เราใช้งานได้ยาวนาน