KJDOO.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาการใช้งานของคุณ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

เครื่องวัดความดัน ยี่ห้อไหนดี

ในปัจจุบันมีคนเป็นจำนวนมากหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองให้มีสุขภาพร่ายกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง  ๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกิน หรือการออกกำลังกายต่าง ๆ หรือการผักผ่อนให้เพียงพอ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก หากเรายังไม่ดูแลสุขภาพตั้งแต่ต้นอาจเกิดผลเสียที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นก็เป็นได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น 
หากเราดูแลสุขภาพของตนเองได้ดีแล้ว แต่ยังเกิดโรคต่าง  ๆ ขึ้นอยู่ บางโรค อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ได้ ก็ต้องรักษากันต่อไป ต้องไปหาหมอตามนัด ทานยาเป็นประจำตามที่หมอสั่ง โรคเหล่านี้ก็อาจจะบรรเทา หรือหายขาดไปเลยก็เป็นได้ หากอยู่ที่การปฏิบัติของตัวเราทั้งสิ้น
ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ ที่เราสามารถใช้อยู่ที่บ้านได้ หากสังเกตอาการของตนเองหากไม่เป็นปกติ ก็สามารถทำได้เองที่บ้าน ก่อนจะไปหาหมอ เครื่องมือนี้คือ เครื่องวัดความดัน 

เครื่องวัดความดัน ยี่ห้อไหนดี 2018

เครื่องวัดความดัน เป็นอุปกรณ์ที่วัดค่าความดันโลหิต ความดันโลหิตเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด ความดันจะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลา ขึ้นกับท่าทาง ความเครียด การออกกำลังกาย และการพักผ่อนนอนหลับ ค่าความดันปรกติคือ 120/80 มิลลิเมตรปรอท เมื่อความดันสูงกว่าเกิน 140/90 มิลลิเมตร แสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง

ดังนั้น การป้องกันความดันโลหิตสูง สามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านและไม่มีอาการเตือน ดังนั้นการจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต แนวทางการรักษาความดันโลหิต ให้ความสำคัญกับ home blood pressure monitoring (HBPM) เป็นการวัดความดันด้วยตนเองที่บ้าน ด้วยตัวผู้ป่วยเอง หรือคนในครอบครัวที่ได้รับการแนะนำเทคนิคหรือวิธีการวัดความดันได้อย่างถูกต้อง เป็นการพยากรณ์โรค, การวินิจฉัยและการรักษาโรคความดันโลหิตสูงเบื้องต้น ต่อไปเรามาดู ประเภทของเครื่องวัดความดัน มีกี่ประเภท มีการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างไร เรามาดูกันค่ะ

KUMALL เครื่องวัดความดันและอันตราการเต้นของหัวใจ ข้อมืออิเล็กทรอนิกส์ดิจิตอล

เครื่องวัดความดัน มีด้วยกัน 3 แบบ มาดูกันว่าแต่ละแบบมีการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร

สารบัญ

  1. เครื่องวัดความดันชนิดปรอท เป็นเครื่องมือมาตรฐานสำหรับวัดความดันโลหิต วัดง่ายไม่ต้องมีการปรับแต่ง ใช้หลักการแรงโน้มถ่วงของโลก ให้ผลการวัดที่แม่นยำ เครื่องมือประกอบด้วยแท่งแก้วที่มีสารปรอทอยู่ภายใน
  2. เครื่องวัดความดันชนิดขดลวด เป็นเครื่องมือที่ราคาไม่แพง น้ำหนักเบา และพกพาสะดวกมากกว่าชนิดปรอท เครื่องวัดชนิดนี้สามารถวางตำแหน่งไหนก็ได้ ต้องปรับเครื่องมือโดยเทียบกับเครื่องมือชนิดปรอทอย่างน้อยปีละครั้งหรือเมื่อมีการทำตก หากผู้ป่วยใช้ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เครื่องชำรุด และต้องส่งไปซ่อม ผู้ที่สายตาไม่ดีหรือได้ยินไม่ชัดหรือไม่สามารถบีบลมจะทำให้การวัดไม่แม่น
  3. เครื่องวัดความดันชนิดดิจิตอล เป็นเครื่องมือที่ไม่ต้องมีหูฟังหรือลูกยางสำหรับบีบลมทำให้สะดวกในการใช้งาน สามารถพกพาได้ แสดงผลเป็นตัวเลขที่หน้าจอพร้อมกับอัตราการเต้นของหัวใจ สายพันมีทั้งชนิดพันที่แขนและข้อมือ ต่อไปเรามาดู ค่าของความดันโลหิตกันค่ะ

ค่าความดันโลหิต (Blood Pressure) คือค่าที่แสดงความดันของโลหิตในร่างกายมี 2 ค่า คือค่าบน (Systolic Pressure) และค่าล่าง (Diastolic Pressure)  มีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท ค่าบน คือค่าความดันที่อยู่ในหลอดเลือดแดง ขณะที่หัวใจสูบฉีดเลือดอย่างเต็มที่  หลังจากนั้น กล้ามเนื้อหัวใจจะผ่อนคลายชั่วครู่ ให้ค่าแรงดันมีกำลังอ่อนลงที่สุด ซึ่งค่าที่ได้ก็คือ ค่าล่าง  เรามาดูตารางค่าความดันโลหิตกันค่ะ

ระดับค่าบน (Systolic)ค่าล่าง (Diastolic)คำแนะนำ
 ความดันโลหิตต่ำ<100<60ปรึกษาแพทย์
 ความดันโลหิตปกติ<130<85เช็คด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ
 ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย130 – 13985 – 89ปรึกษาแพทย์
 ความดันโลหิตสูง140 – 15990 – 99รีบพบแพทย์
 ความดันโลหิตสูงมาก160 – 179100 – 109รีบพบแพทย์
 ความดันโลหิตสูงมากอันตราย>180 รีบพบแพทย์โดยด่วน

ข้อแนะนำทั่วไปในการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต

  1. เตรียมร่างกายให้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ผ่อนคลาย ก่อนทำการวัด
  2. วัดความดันโลหิตที่แขนซ้าย ซึ่งอยู่ใกล้หัวใจ โดยให้จุดที่รับสัญญาณ อยู่ในระดับหัวใจ
  3. สวมปลอกแขนที่บริเวณต้นแขน ให้จุดรับสัญญาณอยู่ตรงกลางท้องแขนด้านใน เหนือข้อพับประมาณ 2 – 3 ซม.
  4. ติดเทปที่ปลอกแขนให้พอดีกับขนาดแขน ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป
  5. หงายต้นแขนขึ้น แล้ววางแขนบนโต๊ะให้รู้สึกสบาย โดยปลอกแขนจะอยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
  6. การวัดความดันโลหิต อาจจะวัดวันละหลายครั้ง จะได้ผลดีกว่าการวัดครั้งเดียว และควรพักประมาณ 5 นาที ก่อนจะวัดครั้งที่ 2
อ่านบทความเกี่ยวข้อง  สบู่เหลว ยี่ห้อไหนดี กลิ่นหอมติดตัว อาบสะอาด

ต่อไปเรามาดู 10 เครื่องวัดความดัน ยี่ห้อไหนดีที่คุณกำลังตามหา เพื่อนำมาใช้ที่บ้าน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน หากมีผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ เครื่องวัดความดันถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากในการมีไว้ติดบ้านค่ะ เรามาดูกันเลยค่ะ

10 เครื่องวัดความดัน ที่ควรมีไว้ติดบ้าน!!!

1. Electronic Blood Pressure Monitor

เครื่องวัดความดันแบบพกพาผลิตจากวัสดุ  Medical ABS  ขนาดสินค้า 133 x 93 x 60 มม. น้ำหนักสินค้า 500 กรัมสีขาว วัดค่าความดันได้อย่างมาตรฐาน น้ำหนักเบา พกพาสะดวก ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ใส่ถ่าน AAA 4 ก้อน แสดงผลบนหน้าจอ LCD สามารถวัด ช่วงค่าการวัด ค่าความดันบน/ล่าง อัตราการเต้นหัวใจ(ชีพจร) +/- 5%  มีระบบควบคุมปั๊มลมอัจฉริยะ/ระบบการปล่อยลม  มีฟังก์ชันตั้งวันที่ เวลา และปรับการใช้งานได้หลากหลาย  ระบบบันทึกค่า 90 เซท และปิดเครื่องอัตโนมัติเพื่อประหยัดพลังงานภายใน 1 นาที  เหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือวัดความดันได้ด้วยตนเองที่บ้านได้เป็นอย่างดี หากสังเกตอาการผิดปกติควรมีการวัดความดันเพื่อความปลอดภัยของตนเอง หากมีค่าความดันที่สูงเกินไป ควรพบแพทย์โดยด่วน เพราะหากมีความดันที่สูงจนเกินไป เป็นสัญญาณเตือนได้เป็นอย่างดี ว่าอาจเกิดโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน

ข้อดี
ข้อด้อย

2. เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ รุ่นท็อป

เครื่องวัดความดันโลหิตอัติโนมัติ รุ่นท็อป วัสดุคุณภาพ Medical ABS ขนาดสินค้า 133 x 93 x 60 มม . ขนาดกะทัดรัดพกพาได้สะดวก ใช้ถ่านขนาด AAA จำนวน 4 ก้อน หน้าจอ LCD แสดงผลด้วยระบบดิจิตอล ระบบควบคุมปั๊มลมอัจฉริยะ/ระบบการปล่อยลม ระบบบันทึกค่า 90 เซท ช่วงค่าการวัด ค่าความดันบน/ล่าง : 0 – 299 mmHg (Systolic & Diastolic Pressure)  อัตราการเต้นหัวใจ (ชีพจร) : 40 – 299 ครั้ง/นาทีช่วงค่าความคาดเคลื่อน : ความดัน +/- 3mmHg อัตราการเต้นหัวใจ(ชีพจร) +/- 5%  มีฟังก์ชันตั้งวันที่ เวลา และปรับการใช้งานได้หลากหลาย ปิดเครื่องอัตโนมัติเพื่อประหยัดพลังงานภายใน 1 นาที เหมาะสำหรับมีไว้ติดบ้านเพื่อการใช้งานที่สะดวก หากมีผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

ข้อดี
ข้อด้อย

3. Omron เครื่องวัดความดัน รุ่น HEM-7130

เครื่องวัดความดัน Omron Blood Pressure รุ่น HEM-7130  ขนาด ประมาณ 107 (กว้าง) x 79 (สูง) x 141 (ลึก) มม. น้ำหนักตัวเครื่อง 250 กรัม  เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติที่ต้นแขนผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ ด้วยหน้าจอดิจิตอล ให้ความมั่นใจในความแม่นยำของการวัดความดันและเพิ่มความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น หน้าจอสามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจ แสดงสัญลักษณ์ในการพันผ้าพันแขนที่ถูกต้อง สัญลักษณ์เมื่อหัวใจเต้นผิดปกติ  สัญลักษณ์เมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกายขณะวัด สัญลักษณ์บ่งชี้ความดันโลหิตสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน แถบบอกระดับความดันโลหิต หาค่าเฉลี่ย 3 ครั้งสุดท้าย ที่วัดภายใน 10 นาที บันทึกได้ 60 ครั้งพร้องแสดงวันที่และเวลา แหล่งพลังงานใช้ถ่าน AA 4 ก้อน หรือ ใช้ Adapter สำหรับใช้ไฟบ้าน

ข้อดี
ข้อด้อย

4. Microlife เครื่องวัดความดัน รุ่น 3AR1-3P ผ้าพันแขนขนาดใหญ่

เครื่องวัดความดัน Microlife รุ่น 3AR1-3P ผ้าพันแขนขนาดใหญ่ ขนาดเครื่อง 126 x 148 x 60 มม.น้ำหนักเครื่อง 480 กรัม ขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก หน้าจอแสดงผลดิจิตอล LCD หน้าจอใหญ่ อ่านค่าได้ง่าย ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้นด้วยปุ่มสัมผัสเพียงปุ่มเดียว สามารถตรวจวัดความดันโลหิตพร้อมกับการตรวจภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้ด้วยเทคโนโลยี PAD-Pluse Arrhythmia Detection 

อ่านบทความเกี่ยวข้อง  ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เลือกซื้อแบบไหนดี

ซึ่งเป็นสิทธิบัตรเฉพาะของไมโครไลฟ์ ได้ผ่านการทดสอบจากสถาบันความดันโลหิตสูงจากประเทศอังกฤษและเยอรมัน เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการตรวจเช็คความดันโลหิตด้วยตนเองโดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคอื่นๆที่มีผลต่อหัวใจ กรณีที่ตรวจพบภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เครื่องจะแสดงรูปหัวใจฟ้าผ่าไว้บนหน้าจอแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบ แหล่งพลังงานใช้ถ่าน AA 4 ก้อน หรือใช้ Adapter สำหรับใช้ไฟบ้านได้

ข้อดี
ข้อด้อย

5. Omron เครื่องวัดความดัน รุ่น HEM-8712

เครื่องวัดความดัน Omron รุ่น HEM-8712 ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ น้ำหนักเบา พกพาสะดวก Omron เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติที่ต้นแขน สามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจ แสดงการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะวัดความดัน ไฟสัญลักษณ์แสดงเมื่อมีการพันผ้าพันแขนอย่างถูกต้อง สัญลักษณ์บ่งชี้ค่าวัดความดันโลหิตเกินค่ามาตรฐานวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้เป็นอย่างดี ด้วยหน้าจอ LCD หน้าจอใหญ่ อ่านค่าได้ง่าย ด้วยปุ่มสัมผัสเพียงปุ่ม เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย หรือผู้ที่ต้องคอยระวังรักษาระดับความดันในร่างกายให้คงที่ ที่ต้องการมีเครื่องวัดความดันไว้ที่บ้าน สามารถใช้งานได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ทำให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

ข้อดี
ข้อด้อย

6. KUMALL เครื่องวัดความดันและอันตราการเต้นของหัวใจ ข้อมืออิเล็กทรอนิกส์ดิจิตอล

KUMALL เครื่องวัดความดันและอันตราการเต้นของหัวใจ ข้อมืออิเล็กทรอนิกส์ดิจิตอล แบบรัดข้อมือระบบ Compression และ Decompression อัตโนมัติ สามาถวัดความดันโลหิตค่าบนและค่าล่าง และอัตราการเต้นของชีพจรในเวลาเดียวกัน หน้าจอแสดงผลขนาดใหญ่ใช้งานง่าย สามารถบันทึกผลที่ได้เก็บไว้ในเครื่องได้ คงทนแข็งแรงและมีความแม่นยำ  ใช้งานง่ายเพียงแค่กดปุ่มก็สามารถตรวจวัดได้เลย คุณสมบัติครบครันในการออกแบบสวยงามน่าใช้งาน เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพและผู้ที่ต้องคอยระวังรักษาระดับความดันในร่างกายให้คงที่ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ควรมีคู่บ้านคุณ มีวิธีการทำงานที่ง่ายไม่ยุ่งยาก เพียงแค่  สวมใส่เครื่องวัดไว้ที่ข้อมือด้านซ้าย ขอบหน้าจอแสดงผลควรห่างจากข้อมือประมาณ 1 ซม.  นั่งหลังตรง พับแขนซ้ายให้เข้ามาแนบอกในความสูงระดับเดียวกับหัวใจ นั่งตัวตรง ผ่อนคลายแขนและไหล่ แล้วกดปุ่มเปิด เครื่องจะวัดอัตราความดันโลหิตโดยอัตโนมัติ

ข้อดี
ข้อด้อย

7. Omron เครื่องวัดความดัน รุ่น HEM-7121

น้ำหนักตัวเครื่อง 250 กรัม แหล่งพลังงานใช้ถ่าน AA 4 ก้อน ใช้งานได้สะดวก ไม่ยุ่งยาก เพียงสัมผัสปุ่มแค่ปุ่มเดียว หน้าจอแสดงผลดิจิตอลขนาดใหญ่ ใช้วัดความดันที่ต้นแขน ด้วยระบบ Oscillometic สามารถวัดค่าความดันในร่างกาย วัดอัตราการเต้นของหัวใจ (ชีพจร) แสดงการเต้นของหัวใจผิดปกติ แสดงการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะวัดความดัน  สามารถเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องได้ 30 ครั้ง  เหมาะสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ ที่ควรมีไว้ติดบ้าน หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ที่สามารถวัดความดันก่อนหากไปพบแพทย์

ข้อดี
ข้อด้อย

8. Yuwell รุ่น YE650D คนแขนใหญ่ใช้ได้ 22-45ซม. พูดไทย + Adapter + กระเป๋าเก็บอุปกรณ์ เครื่องวัดความดัน Blood Pressure Monitor Gohealthy

เครื่องวัดความดัน Blood Pressure Monitor Gohealthy Yuwell รุ่น YE650D  ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ ใช้ระบบ Oscillation สำหรับวัดความดันโลหิตบริเวณต้นแขน ประมวลผลด้วยระบบดิจิทัล สามารถวัดค่าความดันช่วงหัวใจบีบตัว (Systolic) ค่าความดันช่วงหัวใจคลายตัว (Diastolic) และค่าความถี่ของชีพจร หน้าจอ LCD ขนาดใหญ่ แบบมีแสงพื้นหลัง มองเห็นได้ชัดเจน แม้จะเป็นผู้สูงอายุก็สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน 

เครื่องวัดความดันโลหิต Yuwell YE650D อ่านค่าด้วยเสียงภาษาไทย สามารถปรับตั้งค่าความดังได้ถึง 5 ระดับ หรือปิดเสียงได้ สามารถบันทึกค่าได้ 80 ครั้ง และ แสดงค่าเฉลี่ยความดัน 3 ครั้งล่าสุด เพื่อให้ข้อมูลที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น มีระบบแจ้งเตือนกรณีสายรัดต้นแขนทำงานผิดปกติ มีการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะวัด หรือ มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องวัดความดันหากมีอาการผิดปกติของร่างกายที่ส่งสัญญาณต่าง ๆ ที่รับรู้ได้ ก่อนการพบแพทย์

ข้อดี
ข้อด้อย

9. Omron เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ รุ่น HEM -7280T

Omron เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ รุ่น HEM -7280T  ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ ใช้วัดความดันที่ต้นแขน ด้วยระบบ Intellisense Technology  หน้าจอ Back Light LED อ่านค่าได้ง่าย ชัดเจน วัดผลได้อย่างแม่นยำ สามารถเชื่อมต่อกับ smartphone แสดงผลผ่านแอพพลิเคชั่น Omron Connect ได้ทั้งระบบ Android  และ Ios  สามารถแสดงผลความดันโลหิต 3 ครั้งล่าสุด พร้อมวันที่และเวลา  ตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจ (ชีพจร) ที่ผิดปกติ ระบบตรวจวัดความดันโลหิตสูงในตอนเช้า แสดงสัญลักษณ์ OK เมื่อพันผ้าได้ถูกต้อง เหมาะสำหรับมีไว้ติดบ้านหากมีผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการใช้งานหากมีอาการผิดปกติ เพื่อวัดความดันก่อนการไปพบแพทย์ได้

อ่านบทความเกี่ยวข้อง  โฟมล้างหน้าผู้ชาย ยี่ห้อไหนดี
ข้อดี
ข้อด้อย

10. CITIZEN CH-452 เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดความดันโลหิต จากญี่ปุ่น

CITIZEN CH-452 เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดความดันโลหิตจากญี่ปุ่น ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ น้ำหนักเบาเพียง 129 กรัมพกพาได้สะดวก ใช้งานง่ายเพียงกดปุ่มสัมผัสแค่ปุ่มเดียว ประมวลผลด้วยระบบดิจิทัล สามารถวัดค่าความดันช่วงหัวใจบีบตัว (Systolic) ค่าความดันช่วงหัวใจคลายตัว (Diastolic)  สามารแสดงค่าเฉลี่ยได้ 3 ครั้งล่าสุด พร้อมบันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องถึง 90 ครั้ง ใช้งานได้ทั้งถ่านอัคคาไลด์ หรือเลือกใช้แบบ Adaptor ใช้กับไฟบ้าน เหมาะสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ ที่ต้องการมีเครื่องวัดความไว้ที่บ้าน เพื่อการใช้งานที่สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ข้อดี
ข้อด้อย

บทสรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะสำหรับ 10 เครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี เครื่องวัดความดันถือเป็นอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่สามารถใช้งานที่บ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ต้องคอยระวังรักษาระดับความดันในร่างกายให้คงที่ สามารถวัดความดันได้เอง ทำให้สะดวก รวดเร็ว ใช้งานได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก หวังว่า 10 เครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี คงจะเป็นประโยชน์ในการเลือกเครื่องวัดความดันได้เป็นอย่างดี มีหลากหลายรุ่น ยี่ห้อ ให้ได้พิจารณา มีข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกันไป พบกันใหม่บทความหน้า สวัสดีค่ะ