น้ำมันปลากับน้ำมันตับปลาต่างกันอย่างไร
สารบัญ
- น้ำมันตับปลา สกัดจากตับของปลาทะเล รับประทานเพื่อเสริมวิตามินเอ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมเยื่อบุผิวหนังให้เป็นปกติ และยังมีวิตามินดีที่ช่วยดูดซึงแคลเซียมรวมทั้งฟอสฟอรัสบริเวณลำไส้เข้าสู่ร่างกายทำให้การสร้างกระดูกเป็นไปอย่างปกติ
- น้ำมันปลา เป็นน้ำมันที่สกัดจากเนื้อ หนัง หัว และหางปลาทะเล เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน ปลาทูน่า น้ำมันปลามีกรดไขมันที่ร่างกายคนราไม่สามารถสร้างเองได้ โดยเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (Polyunsaturated Fatty Acid) หรือ PU FA 2 ชนิดในกลุ่มโอเมกา 3 คือ Eicosapentaenoic acid (EPA) และ Docosahexaenoic acid (DHA)
ปัจจุบันแพทย์จะให้คำแนะนำกับผู้ป่วยที่เป้ฯโรคหลอดเลือดหัวใจรับประทานน้ำมันปลา เพื่อช่วยลดระดับไขมันในเลือด และยังช่วยลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจกำลังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ และสามเหตุการเกิดโรคก็มาจากการที่หลอดเลือดแดงไปเลี้ยงหัวใจไหลเวียนไม่สะดวก
เพราะผนังหลอดเลือดหนาและแข็งขึ้นจากการเกาะตัวของคอเลสเตอรอลการอุดตันของเกร็ดเลือดที่รวมตัวกันส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาเลี้ยง บางรายที่อาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ การที่แพทย์แนะนำให้รับประทานน้ำมันปลาก็เพื่อจะช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ของน้ำมันปลา
1.บรรเทาอาการโรคข้อกระดูกอักเสบ สามารถบรรเทาอาการโรคข้อกระดูกอักเสบได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
2.ชะลอความชรา หากอยากดูเด็กกว่าวัย ควรบริโภคอาหารจำพวกปลาอย่างแซลมอน ซึ่งเป็นแปล่งของโอเมกา-3 ชั้นยอด
3.ช่วยให้ผลลัพธ์ของการออกกำลังกายดีขึ้น การบริโภคน้ำมันปลา ควบคู่กับการออกกำลังกายช่วยให้ไขมันในร่างกายลดลง
4.เสริมสร้างพลังให้สมองและความจำ น้ำมันปลาช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น
5.ช่วยให้สุขภาพกระดูกดีขึ้น กรดไขมันโอเมกา-3 ชนิด DHA เป็นสารอาหารที่จำเป็นในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงด้วย
แม้ว่าน้ำมันปลาจะมีความปลอดภัยสูง แต่ก็ยังมีข้อควรระวังที่ควรใส่ใจ
- ผู้ที่ทานน้ำมันปลาเป็นประจำ จะมีความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกมากขึ้น เพราะโอเมกา-3 ในน้ำมันปลาจะมีคุณสมบัติในการต้านการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด และทำให้เลือดหยุดไหลช้าลงได้ เช่นผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ผู้ที่มีแปลในกระเพาะอาหาร อาจต้องทานน้ำมันปลาอย่างระมัดระวัง
- ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ เพราะน้ำมันปลามีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิตอยู่แล้ว
- บางรายอาจมีอาการแพ้น้ำมันปลาได้ เพราะน้ำมันปลามาจากปลาทะเล ผู้ที่แพ้อาหารทะเลก็อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะแพ้น้ำมันปลา
การเลือกซื้อน้ำมันปลา
- ความสดใหม่ และค่า Peroxide Value (PV) น้ำมันปลามีข้อจำกัดที่สามารถจะสันดาปกับออกซิเจนในอากาศได้ง่ายในน้ำมันปลามีประมาณของกรดไขมันอยู่มาก เมื่อกรดไขมันเหล่านี้สัมผัสกับอากาศ จะทำให้น้ำมันปลามีกล่นหืน การที่น้ำมันปลาถูกสันดาป จะมีผลให้เกิดสารใหม่ที่ไม่ต้องการและอาจเป็นตัวการก่อมะเร็ง
- ปริมาณวิตามิน A และ วิตามิน D วิตามิน A และ D สำคัญต่อสุขภาพ การที่เราได้รับปริมาณวิตามิน A และ D ที่มากเกินไปอาจเป็นโทษได้ วิตามิน A ขนาด 375 IU และวิตามิน D ขนาด 30 IU ในน้ำมันปลา 1000 mg เป็นประมาณที่พอเหมาะ
- บรรจุภัณฑ์น้ำมันปลาต้องเก็บให้พ้นแสง จึงควรบรรจุในขวดสีชา เพื่อป้องกันแสง
รับประทานน้ำมันปลาอย่างไรจึงจะปลอดภัย
1.ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรรับประทานน้ำมันปลาประมาณ 1000 mg / วัน
2.ผู้ป่วยที่ต้องการลดระดับไตรกลีซอไรด์ในเลือด ควรรับประทานวันละ 2-4 กรัม
ก่อนตัดสินใจรับประทานน้ำมันปลาควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัยและควรระวังไว้ว่าการรับประทานน้ำมันปลาขนาดสูง อาจทำให้วิตามิน E ในร่างกายลดลง
ถ้าเป็นไปได้ เราอยากแนะนำให้รับประโยชน์จาก DHA และ โอเมกา-3 จากดาหารโดยตรงมากกว่า เพราะนอกจากเราจะได้สารอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ จากเนื้อปลาเหล่านี้แล้ว ยังมีโอเมกา-3 จากพืชเช่นเมล็ดแฟลกซ์ ถั่ววอลนัท และน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะพร้าว ให้คนที่แพ้ปลาทะเลได้เลือกทานอีกด้วย แต่หากอยากทานน้ำมันปลา ก่อนทานควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้เราทานน้ำมันปลาได้อย่างเหมาะสมกับสุขภาพของเรามากที่สุด