เครื่องวัดความดันโลหิตสามารถใช้วัดโรคความดันโลหิตสูง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกคนและไม่มีอาการเตือน ดังนั้น การที่เราจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดความดันโลหิต
เทคนิคในการวัดความดันโลหิต
สารบัญ
การวัดความดัน ควรทำในห้องที่เงียบสงบ ผู้ป่วยควรอยู่ในท่านั่งที่มีการรองหลังและแขน เป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที ก่อนทำการวัดความดันควรวัดความดัน 2 ครั้ง ในระยะห่าง 1-2 นาที และทำการบันทึกข้อมูลในสมุดจดทันทีที่ทำการวัดเสร็จในแต่ละรอบ การวัดความดันโลหิตควรทำทุกวัน ติดกันอย่างน้อย 3-4 วัน และควรวัดสม่ำเสมอที่ระยะทุก ๆ 7 วันในเวลากลางวันและเวลากลางคืน
ชนิดของเครื่องวัดความดันโลหิต
- เครื่องวัดความดันชนิดปรอท (Mercury sphygmonometer)
เครื่องวัดความดันชนิดปรอท เป็นเครื่องมือมาตรฐานสำหรับวัดความดันโลหิตวัดง่ายไม่มีการปรับแต่งใช้หลักการแรงโน้มถ่วงของโลก ให้ผลการวัดที่แม่นยำ เครื่องมือประกอบด้วยแท่งแก้วที่มีสารปรอทอยู่ภายใน ข้อด้วยของเครื่องวัดความดันชนิดปรอทนี้คือ มีขนาดใหญ่พกพาลำบากเครื่องมือจะต้องตั้งตรงบนพื้นเรียบ แท่งปรอทจะต้องอยู่ระดับสายตาจึจะอ่านค่าได้แม่นยำ - เครื่องวัดความดันชนิดขดลวด
เครื่องวัดความดันชนิดขดลวดมีราคาไม่แพงน้ำหนักเบาพกพาสะดวก มากกว่าชนิดปรอทสามารถวางตำแหน่งไหนก็ได้บางรุ่นมีหูฟังอยู่ในสายพันแขน ข้อด้วยของเครื่องนี้คือเครื่องมือมีกลไกซับซ้อน ต้องปรับเครื่องมือ โดยเทียบกับเครื่องมือชนิดปรอทอย่างน้อยปีละครั้ง - เครื่องวัดความดันชนิดดิจิตอล (Automatic equipment)
เครื่องวัดความดันชนิดดิจิตอล เป็นเครื่องวัดความดันที่ไม่ต้องมีหูฟังหรือลูกยางสำหรับบีบลม ทำให้สะดวกในการใช้งาน สามารถพกพาได้ง่าย ข้อผิดพลาดน้อย เหมาะสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ สายตาและการได้ยินไม่ดี แสดงผลเป็นตัวเลขที่หน้าจอพร้อมกับอัตราการเต้นของหัวใจ สายพันมีทั้งชนิดพันที่แขนและข้อมือ ข้อด้อย คือ เครื่องวัดความดันชนิดดิจิตอลจะมีกลไกที่ซับซ้อน แตกหักง่ายต้องมีการตรวจสอบความแม่นยำของการวัด เมื่อเทียบกับเครื่องชนิดปรอท ราคาค่อนข้างแพงและต้องใช้ไฟฟ้า
คำแนะนำก่อนซื้อเครื่องวัดความดันมาใช้ที่บ้าน
การวัดความดันด้วยเครื่องวัดความดันแบบปรอท คงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับคนที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นเครื่องวัดความดันแบบอัตโนมัติจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งสะดวกใช้งานง่าย และระหว่างเครื่องวัดความดันอัตโนมัติที่ต้นแขนและเครื่องวัดความดันอัตโนมัติที่ข้อมือ เราควรจะเลือกแบบไหนดีตรงนี้ต้องดูลักษณะการใช้งานของผู้ที่ต้องใช้เป็นหลัก
- เครื่องวัดความดันที่ต้นแขนจะได้ค่าความดันที่ใกล้ความเป็นจริงที่สุด เนื่องจากอยู่ใกล้หัวใจและอยู่ในระดับเดียวกับหัวใจมากที่สุด แต่ไม่สะดวกกับการพกพา
- เครื่องวัดความดันที่ข้อมือ จะมีระบบสูบลมและคลายลมอัตโนมัติ พันสายรัดทีข้อมือได้ง่าย สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก สามาถนำมาใช้ได้ทันที เวลาวัดก็ควรวางข้อมือให้อยู่ในระดับใกล้เคียงหัวใจ
เครื่องวัดความดันที่ข้อมือยังไม่ถือเป็นมาตรฐาน ซึ่งโดยมาตรฐานแล้วการวัดความดันจะวัดที่เหนือข้อพับเป็นหลัก
ความถี่ในการใช้งาน หากจำเป็นต้องใช้งานบ่อย ควรเลือกเครื่องวัดความดันแบบที่มี adaptor เพื่อเป็นการประหยัดแบตเตอรี่
เลือกเครื่องวัดความดันที่ผ่านการรับรอง เครื่องวัดความดันที่ได้มาตรฐานจะมีสัญลักษณ์ CE หรือ UL ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเครื่องนั้นได้รับการออกแบบและผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามข้อบังคับอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป หรือ ดูที่ เครื่องหมาย มอก. มาตรฐานประเทศไทย
งบประมาณและจำนวนสมาชิกที่ต้องใช้เครื่องวัดความดัน ถ้าใช้คนเดียวและมีงบประมาณที่จำกัด เลือกเครื่องวัดที่มีมาตรฐาน และ ไม่จำเป็นต้องมีฟัก์ชั้นมากและหากมีสมาชิกที่ต้องใช้เครื่องวัดความดันหลายคนควรเลือกแบบที่มีฟัก์ชั้นการใช้งาน เช่น Memory บันทึก ระบุ วันเวลา
ระยะในการรับประกัน เครื่องวัดความดันแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อระยะเวลาในการรับประกันจะแตกต่างกัน
ก่อนที่จะซื้อเครื่องวัดความดันต้องเข้าใจพื้นฐานของการวัดความดันเสียก่อน โดยค่าการตรวจวัดความดันบ้านเราใช้หลักของอเมริกาคือ
- ถ้าความดันน้อยกว่า 120/80 ถือว่าปกติ ควรวัดซ้ำทุก 2 ปี
- ถ้าความดัน 120-139/80-89 ถือว่าไม่เป็นโรค ควรวัดซ้ำทุก 1 ปี
- ถ้าความดัน มากกว่า 140/90 ถือว่าเป็นโรค ควรปรึกษาแพทย์และต้องวัดซ้ำภายใน 2 เดือน
คำแนะนำในการใช้เครื่องวัดความดัน
- ถ้าใช้เครื่องวัดความดันที่ต้นแขนให้วัดในท่านั่ง วางแขนและข้อศอกบนโต๊ะจัดระดับให้ผ้าพันต้นแขน อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
- ถ้าใช้เครื่องวัดความดันที่ข้อมือ ให้วัดในท่านั่ง วางข้อมือให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
- ไม่ควรวัดความดันขณะที่ร่างกายเหนื่อย หมดแรง อ่อนเพลีย หรือมีอารมณ์เครียด
- ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ก่อนทำการวัดความดัน
- ไม่ควรวัดความดันหลังรับประทานอาหารมือหลักทันทีควรห่างอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
ในยุคสมัยนี้ผู้คนนิยมการดูแลสุขภาพด้วยตนเองเพื่อป้องกันความเสี่ยงก่อนที่จะเกิดปัญหาด้านสุขภาพแบบชุดใหญ่ซึ่งหากเป็นโรคความดันโลหิตแล้วข้อดีของการมีเครื่องวัดความดันคือทำให้เราใส่ใจความดันตัวเองและกินยาอย่างสม่ำเสมอ การวัดความดันด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ที่เป็นโรคความดันจะต้องทำอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะผู้สูงอายุ การควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติเป็นเรื่องที่สำคัญมากดังนั้นคุณหมอจึงมักจะให้ผู้ป่วยซื้อเครื่องวัดความดันไว้ที่บ้าน และจดค่าความดันในทุกเช้า เพื่อการรักษาและการปรับยาให้ได้ผลต่อผู้ป่วยแต่ละคน